เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๕ ( สัตตสตกมหาทาน )
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า การตายร่วมกับพระองค์เท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐกว่าการพลัดพรากจากพระองค์ แม้นางช้างพังยังติดตามช้างพลายในป่า อาศัยตามภูผาทางกันดาร ฉันใด หม่อมฉันจะพาบุตรและบุตรีตามเสด็จ ฉันนั้น
ขอเชิญร่วมการสัมมนา “การปกป้องและเผยแผ่พุทธศาสนา หลังโลกาภิวัตน์”
ขอเชิญร่วมการสัมมนา “ การปกป้องและเผยแผ่พุทธศาสนา หลังโลกาภิวัตน์ ” ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
อานิสงส์บูชาด้วยดอกอุบล
เราทรงดอกไม้ถวายพระมหามุนี ดังศิษย์กั้นร่มถวายอาจารย์ ในกัปที่สามหมื่น เราได้บูชาดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่สองพันแต่กัปนี้ เราได้เป็นกษัตริย์ ๕ ครั้ง และเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงพละมาก มีพระนาม หัตถิยะ เราได้บรรลุคุณวิเศษทั้งหลาย ก็ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ได้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชา
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๔ )
จะเล่าเรียนอะไร ก็ทำไปเถิด เพราะเรายังเป็นมนุษย์ ต้องใช้ความรู้ทำมาหากินเลี้ยงชีพ แต่อย่าลืมศึกษาธรรมะไปด้วย เราต้องศึกษาความจริงของชีวิต ที่จะเป็นเข็มทิศนำพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง จะทำมาหากินก็ทุ่มเททำกันไป แต่อย่าลืมทำบุญติดตัวควบคู่ไปด้วย
อานิสงส์ถวายเข็ม
ในกัปที่สามหมื่นได้ถวายเข็ม ๕ เล่ม แด่พระสุเมธะพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เป็นจอมแห่งชน ด้วยการถวายเข็มนั้น ญาณเป็นเครื่องรู้แจ้งอรรถและธรรมอันละเอียดคมกล้า แม่นยำ รวดเร็วและสะดวกเกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง ทรงพระนามว่า ทิปทาธิบดี สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
ชัยชนะครั้งที่ ๕ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอน ชนะการถูกกล่าวหาจากนางจิญจมาณวิกา)
พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ เป็นอานุภาพที่ไม่มีประมาณ เพราะเป็นอจินไตยอยู่เหนือวิสัยของผู้ที่ใจยังไม่หยุด จะเข้าใจได้ด้วยการนึกคิดด้นเดา
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๓ )
อันที่จริง ตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ ล้วนเป็นของสมมติ เพื่อไว้ใช้สร้างบารมี ย่นย่อหนทางพระนิพพานให้สั้นลง แต่ผู้ไม่รู้ กลับใช้ก่อกรรมทำบาปอกุศล แม้บุญเก่าจะทำมาดีให้ได้เกิดเป็นพระราชา แต่ถ้าประมาทใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางที่ผิด ย่อมมีทุคติเป็นที่ไป
รัตนชาติและพระรัตนตรัย
ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้น คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใดก็ฉันนั้น ดูก่อนปหาราทะ ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิดเหมือนกัน รัตนะในธรรมวินัย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิดนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นแล้ว จึงอภิรมย์ยินดียิ่งในศาสนานี้อยู่